ป้ายหยุด (บ.1)

คำอธิบาย

ป้ายหยุด (บ.1) มีลักษณะเป็นป้ายรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่า พื้นป้ายสีแดง เส้นขอบป้ายสีขาว มีตัวอักษร คำว่า
“หยุด” สีขาว สูงประมาณ 1/3 เท่าของความสูงของป้ายอยู่ภายใน

เหตุอันควรในการติดตั้งป้ายหยุด
เนื่องจากป้ายหยุดทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อผู้ขับรถ ดังนั้นจึงควรใช้ป้ายนี้เฉพาะที่จำเป็นและมีเหตุอันควร
เท่านั้น โดยเหตุอันควร (Warrants) ในการพิจารณาติดตั้ง มีดังนี้
1) ทางแยกซึ่งถ้าไม่ติดตั้งป้ายหยุดที่ด้านหนึ่ง เมื่อปล่อยให้การจราจรผ่านทางแยกตามสิทธิผ่านทางแยก
ก่อนหลัง มักจะเกิดอันตรายจากอุบัติเหตุอยู่เสมอ
2) ถนนที่เข้ามาบรรจบกับทางหลวงสายหลักที่มีรถวิ่งผ่านตลอด (Through Highways)
3) ทางแยกซึ่งอยู่ในบริเวณที่มีการควบคุมการจราจรด้วยสัญญาณไฟ แต่ไม่ได้มีการติดตั้งสัญญาณไฟที่ทาง
แยกนั้น
4) ทางแยกที่มีลักษณะสภาพของทางและการจราจรประกอบกันดังนี้ คือ ยวดยานส่วนมากใช้ความเร็วสูง
ระยะการมองเห็นจำกัด และมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง ต้องติดตั้งป้ายหยุดเพื่อควบคุมการจราจรที่
ด้านหนึ่ง

การติดตั้งโดยทัว่ ไป ให้ติดตั้งป้ายหยุดบนทางหลวงที่มีปริมาณการจราจรน้อยกว่า นอกจากในกรณีที่เป็นสาม
แยก ให้ติดตั้งป้ายหยุดบนทางหลวงด้านที่เข้าบรรจบ ไม่ว่าจำนวนยวดยานบนทางหลวงนั้นจะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็
ตาม ทัง้ นี้เพื่อความปลอดภัย

ห้ามติดตั้ง ป้ายอื่นใด ณ ที่แห่งเดียวกันกับป้ายหยุด

ห้ามติดตั้งป้ายหยุดบนทางหลวงพิเศษหรือตามทางแยกต่างระดับ (Interchanges) ทั้งนี้เนื่องจากบนทางหลวง
เหล่านั้นต้องการให้ยวดยานไหลไปโดยสะดวก ไม่สมควรที่จะติดตั้งป้ายหยุดบนทางเชื่อมโยงเข้า (Entrance Ramps)
นอกจากนั้นบนทางเชื่อมโยงออก (Exit Ramps) ซึ่งอาจจำเป็นต้องติดตัง้ ป้ายหยุดก่อนถึงจุดตัดกับทางข้างหน้าซึ่งไม่ใช่
ทางหลวงพิเศษ

ห้ามติดตั้งป้ายหยุดตรงทางแยก ซึ่งควบคุมการจราจรด้วยสัญญาณไฟจราจร เพราะจะทำให้เกิดความสับสน
ต่อผู้ขับรถ ในกรณีที่หยุดใช้สัญญาณไฟควบคุมการจราจรในบริเวณทางแยก ก็ให้ใช้ไฟกะพริบสีเหลืองหรือสีแดงแทน
โดยใช้ไฟกะพริบสีเหลืองในด้านทางหลวงที่มีปริมาณการจราจรสูงกว่า และใช้ไฟกะพริบสีแดงในด้านทางหลวงที่
ต้องการให้ยวดยานหยุดที่ทางแยก ก่อนที่จะผ่านเลยทางแยกนั้นออกไป

ในกรณีที่ทางหลวงตัดกับทางรถไฟในระดับเดียวกัน ถ้าไม่มีไฟสัญญาณจราจรหรือเครื่องกั้น ให้ติดตั้งป้าย
หยุดทางด้านซ้ายของทางหลวงที่ตำแหน่งของแนวเส้นหยุด (Stop Line)

หลักเกณฑ์การติดตั้งป้ายหยุดทั่ว ไปมี ดังนี้
1) ป้ายหยุดต้องติดตั้งใกล้แนวที่จะให้รถหยุด และควรใช้เส้นหยุด (Stop Line) ร่วมด้วย โดยจะมีหรือไม่มี
ข้อความ “หยุด” อยู่บนผิวจราจรก็ได้
2) ตรงบริเวณทางแยกที่ต้องการจะติดตั้งป้ายหยุด ให้ติดห่างจากขอบผิวจราจรที่ขวางหน้าไม่น้อยกว่า
1.20 ม. แต่ต้องไม่เกิน 10 ม. ในกรณีทางแยกมีเส้นทางข้ามร่วมด้วย ให้ติดตั้งป้ายหยุดก่อนถึงขอบ
เส้นทางข้าม 1.20 ม.
3) ระยะการติดตัง้ ป้ายตามแนวดิ่ง และแนวขวางเป็นไปตามหัวข้อ 1.10.2 ในบทที่ 1
4) โดยทัว่ ไปให้ทำการติดตั้งป้ายหยุด ด้านซ้ายของขอบทาง สำหรับทางแยกซึ่งมีรัศมีกว้าง (Wide Throat
Intersections) ผู้ขับขี่อาจมองไม่เห็นป้ายหยุดที่ติดตั้งทางด้านซ้าย จึงควรใช้เส้นหยุดร่วมกับคำว่า
“หยุด” บนผิวจราจร และอาจติดตั้ง ป้ายหยุดเสริมที่ด้านขวาของทางก็ได้
5) ตรงทางแยกซึ่งมีเกาะแบ่งช่องจราจร (Channelizing Islands) ให้ติดตัง้ ป้ายหยุดบนเกาะแบ่งช่องจราจร
6) ต้องระวังเรื่องมุมการติดตัง้ ป้าย อย่าให้คนขับรถในทิศทางที่ไม่ต้องการจะให้หยุดรถ มองเห็นป้ายหยุดได้
ชัดเจน เพราะจะทำให้เกิดความสับสนได้
7) ในกรณีที่ตำแหน่งของป้ายหยุดอาจมองเห็นได้ไม่ชัด เนื่องจากถูกสงิ่ อื่นบดบัง หรือเป็นทางโค้ง หรือรถที่
วงิ่ เข้าสู่ทางแยกใช้ความเร็วสูง จนผู้ขับขี่ไม่สามารถหยุดรถตรงแนวที่ต้องการจะให้หยุดได้ ให้ติดตั้งป้าย
เตือน “หยุดข้างหน้า” (ต.54) ก่อนที่จะถึงป้ายหยุด