ป้ายบอกจุดหมาย ปลายทาง (น-2)

คำอธิบาย

ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง (น.2) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นป้ายสีขาว เส้นขอบป้ายสีดำ ตัวอักษรตัวเลข และเครื่องหมายลูกศรสีดำ (สำหรับทางหลวงพิเศษใช้พื้นป้ ายสีขาว เส้นขอบป้ าย ตัวอักษร ตัวเลข และเครื่องหมายลูกศรสีขาว) บรรจุข้อความ ซึ่งระบุถึงจุดหมายปลายทางนั้นๆ ประกอบในป้าย อาจจะระบุป้ายหมายเลขทางหลวงและ/หรือบอกระยะทางถึงจุดหมายปลายทางด้วยก็ได้ และขนาดของป้ายดังแสดงในตารางโดยทัว่ ไปให้ใช้เครื่องหมายลูกศร ชี้ตรงไป หรือ ชี้ซ้าย หรือ ชี้ขวา เพื่อบอกทิศทางการไปสู่จุดหมายปลายทางที่อยู่ข้างหน้า หรือ ทางซ้าย หรือ ทางขวา ของสถานที่ติดป้าย ในกรณีจำเป็นอาจใช้เครื่องหมายลูกศรเอียงทำมุมกับป้ายเล็กน้อยเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางที่แท้จริงก็ได้

ตำแหน่งการวางลูกศรบนแผ่นป้ายเป็น ดังนี้
3) ลูกศรที่ชี้ตรงไป ให้อยู่ทางด้านขวาของป้าย
4) ลูกศรที่ชี้ไปทางซ้าย ให้อยู่ทางด้านซ้ายของป้าย
5) ลูกศรที่ชี้ไปทางขวา ให้อยู่ทางด้านขวาของป้าย
6) ในกรณีที่ติดตั้งป้ายที่มีลูกศรชี้ตรงไปคู่กับป้ายที่มีลูกศรที่ชี้ไปทางขวา ให้เปลี่ยนตำแหน่งการวางลูกศรที่ชี้ตรงไป ให้อยู่ทางด้านซ้ายของป้าย

ป้ายบอกจุดหมายปลายทางไปยังแหล่งท่องเที่ยว อาจพิจารณาใช้แบบที่บอกระยะทางไปยังจุดหมายปลายทางเพื่อให้ผู้ใช้ทางมีโอกาสตัดสินใจแวะสถานที่ท่องเที่ยวได้ แต่อย่างไรก็ตามตำแหน่งที่ติดตั้งป้ายแห่งเดียวกันต้องใช้ป้ายแบบเดียวกัน

จุดหมายปลายทางบนแผ่นป้ายโดยทัว่ ไประบุเฉพาะชื่อ จังหวัด อำเภอ และสถานที่สำคัญเท่านั้น ในบางกรณีอาจใช้ชื่อของหมู่บ้านหรือตำบลก็ได้ แต่ทัง้ นี้ต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว ชื่อต่างๆ บนป้ายบอกจุดหมายปลายทาง ให้ใช้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1) ชื่อจังหวัด ให้ระบุเฉพาะชื่อจังหวัด เช่น “ตาก” “สุโขทัย” “สงขลา” “สระบุรี” ฯลฯ
2) ชื่ออำเภอ ให้ใช้ตัวอักษร “อ.” นำหน้าชื่ออำเภอนั้นๆ เช่น “อ.สูงเนิน” “อ.ลี้” “อ.วังน้อย” ฯลฯ
3) ชื่อของหมู่บ้าน ให้ใช้ตัวอักษร “บ.” นำหน้าชื่อหมู่บ้านนั้นๆ เช่น “บ.คอกควาย” “บ.สุ่มเส้า” “บ.
ผ่อน” ฯลฯ
4) จุดควบคุม (Control Cities หรือ Control Points) ที่เป็นทางแยกระหว่างทางหลวงสองสายตัดกัน
หรือ บรรจบกัน หรือทางแยกต่างระดับ ให้ระบุเฉพาะชื่อตำบลหรือหมู่บ้าน เช่น “ฉิมพลี” “บางควาย”
“มาบเอียง” ฯลฯ
5) สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง สนามบิน ท่าเรือ โดยทัว่ ไปไม่ต้องใส่ชื่อเฉพาะ ให้ใช้คำว่า “สถานีรถไฟ”
“สถานีขนส่ง” “สนามบิน” หรือ “ท่าเรือ” เท่านั้น ยกเว้นในบางกรณีที่มีสถานที่แบบเดียวกันหลายแห่ง
อยู่ใกล้กัน หรืออยู่ในเส้นทางเดียวกัน อาจพิจารณาใช้ชื่อเต็มของสถานที่นั้น
6) ชื่อสถานที่อื่นๆ เช่น ภูเขา แม่น้ำ วัด เขื่อน อ่างเก็บน้ำ สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ทางประวัติศาสตร์
ให้ระบุชื่อสถานที่นั้นๆ
7) ในกรณีที่ชื่อเต็มมีความยาวมาก หรือ ไม่สอดคล้องกับป้ายแนะนำอื่นๆ ที่ติดตั้งในที่เดียวกัน ให้
พิจารณาย่อคำ ให้สั้นลง โดยที่คำ ย่อบนแผ่นป้ ายจะต้องเป็นคำ ที่คนทั่วไปเข้าใจได้ เช่น
“พระนครศรีอยุธยา” ย่อเป็น “อยุธยา” หรือ “กรุงเทพมหานคร” ย่อเป็น “กรุงเทพ”

บนทางหลวงแผ่นดินสายหลัก ทางหลวงแผ่นดินสายรอง ทางหลวงที่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียและอาเซียน ทางหลวงที่มีความสำคัญต่อการเดินทางท่องเที่ยวของชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ให้ใช้ภาษาอังกฤษระบุชื่อของจุดหมายปลายทางนั้นๆ ด้วยหลักเกณฑ์การใช้ภาษาอังกฤษ ดังที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ 4.5 เรื่องตัวอักษรและตัวเลข

ก.ป้ายบอกจุดหมายปลายทางที่ใช้ภาษาไทยอย่างเดียว

2.5.ป้ายบอกจุดหมาย ปลายทาง (น-2)1

ข.ป้ายบอกจุดหมายปลายทางที่ใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

2.5.ป้ายบอกจุดหมาย ปลายทาง (น-2)2